วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การวางแผนชีวิต

ส่องกล้องเศรษฐกิจ : ดร.อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 03 มกราคม พ.ศ. 2551

ก็เริ่มปีพุทธศักราช 2551 มาแล้วซึ่งหมายถึงว่าอายุของพวกเราก็จะมากขึ้นกันอีก 1 ปี คงต้องมองย้อนหลังทบทวนว่า ในปีที่ผ่านมาเราได้ทำอะไร และมีอะไรที่เราอยากจะทำแต่ไม่ได้ทำ เพื่อที่จะได้ตั้งใจหรือตั้งปณิธานเอาไว้ว่าในปีใหม่นี้ เราจะมีการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินชีวิตให้ดีขึ้นอย่างไร

ในปีที่ผ่านมาคนไทยส่วนหนึ่งอาจจะได้ตั้งปณิธานในการทำความดี เพื่อถวายเป็นสักการะเนื่องในโอกาส เฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบ 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งก็น่าจะสามารถดำเนินตามปณิธานในการกระทำความดีต่อไป เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของตนเองและครอบครัว และจึงขอถือโอกาสนี้อาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงดลบันดาลประเทศชาติและคนไทยทุกคน มีความสุขและความเจริญตลอดไปนะคะ

สิ่งที่อยากจะฝากเป็นข้อคิดสำหรับทุกท่าน คือ การวางแผนชีวิต ซึ่งรวมถึงการวางแผนทั้งเรื่องสุขภาพอนามัย และเรื่องการวางแผนทางการเงิน เพื่อจะให้มีชีวิตที่สุขสบายและมีคุณภาพ ผู้เขียนเองก็มาจากครอบครัวใหญ่ และครั้งหลังสุดที่มีการนัดทานข้าวกับญาติพี่น้อง ก็ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า สัดส่วนจำนวนของกลุ่มเด็กๆ ลดน้อยลง แต่กลุ่ม ส.ว.หรือผู้สูงวัยมากกว่า เพราะในแต่ละครอบครัวก็จะมีลูกกันเพียง 1-2 คนเป็นส่วนใหญ่

จึงได้มีการกระเซ้าเย้าแหย่หลานๆ ที่เป็นลูกคนเดียวของพ่อแม่ว่า หนูคนเดียวพอโตขึ้นและทำงานต้องดูแลพ่อแม่ ตายายหรือปู่ย่า และต้องเลี้ยงครอบครัวของตนเอง ซึ่งหมายถึงคน 1 คนต้องมีภาระเลี้ยงดูคนถึง 6 คน ซึ่งเป็นสภาพความจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับระดับประเทศก็เช่นกันคือคน 1 คนจะต้องเลี้ยงดูคน 6 คนนั้นจะมีทางหารายได้หรือต้องสร้างผลผลิตให้พอเพียงกับความต้องการใช้

ภาพดังกล่าวสะท้อนถึงสังคมไทยว่าจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้จากการศึกษาของ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือนักประชากรศาสตร์ท่านอื่นๆ ต่างยืนยันถึงข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้พบว่าอายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของคนไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 5 ปีทั้งผู้ชายและผู้หญิงจากอายุขัยเฉลี่ยจากเฉลี่ย 67.9 ปีสำหรับผู้ชาย และ 74.9 ปีสำหรับผู้หญิงในปี พ.ศ. 2548 จะเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 74.8 ปีสำหรับผู้ชาย และ 80.3 ปีสำหรับผู้หญิง

ทั้งนี้เป็นผลจากสาธารณสุข การแพทย์และโภชนาการโดยรวมพัฒนาดีขึ้น คนจึงมีอายุยืนมากขึ้น และการที่มีคนสูงอายุมากขึ้นในขณะที่สัดส่วนของคนในวัยทำงาน (อายุ 15-60 ปี) ลดลง ทำให้สัดส่วนของวัยพึ่งพิง (เด็กและผู้สูงอายุ) ต่อประชากรจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 60 ในอีกประมาณ 50 ปีข้างหน้า

ถ้าหากอายุเกษียณอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 60 ปี หมายถึงการใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และค่าใช้จ่ายในส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจากการที่มีอายุยืนยาวมากขึ้น

การมีอายุยืนยาวมากขึ้นนั้น ก็คงเป็นสิ่งที่ดีถ้าหากอายุยืนขึ้นแต่มีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งก็จะต้องมาจากการโภชนาการ และการออกกำลังกายร่วมกัน และการมีฐานะการเงินที่ดีมีเงินใช้เพียงพอที่ไม่ต้องเป็นภาระหรือต้องพึ่งพาผู้อื่น เป็นการมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีเกียรติในตนเอง เพราะสภาพสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ครอบครัวจะมีลักษณะเป็นครอบครัวเล็กลงตามการเจริญเติบโตของสังคมเมือง ดังนั้นการหวังจะพึ่งพากัน ของสมาชิกในครอบครัวดังเช่นในอดีตจึงจะลดด้อยถอยลง

ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนการเงินและการออมเงินไว้เสียแต่เนิ่นๆ นะคะ และตรวจสอบตัวเองว่ามีแผนการเงินในอนาคตไว้อย่างไรบ้าง เพื่อสร้างรากฐานความมั่นคงของชีวิตค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การพัฒนาศักยภาพครู

ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔

หัวข้อ......การพัฒนาศักยภาพครู
ครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดต่อการพัฒนาสังคมและชาติบ้านเมือง ทั้งนี้เพราะครูต้องรับหน้าที่ในการพัฒนาบุคคลในสังคมให้มีความเจริญงอก งามอย่างเต็มที่ จนบุคคลเหล่านั้นสามารถที่จะใช้ความรู้ความสามารถของตนไปพัฒนาชาติบ้านเมือง ต่อไป ดังนั้นครูจึงควรพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่มีศักยภาพที่สุดในทุกๆด้าน

ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔นั้นการพัฒนาศักยภาพครูจะเน้นให้ครูเป็นผู้นำทางวิชาการ เพียงด้านเดียว
ไม่ ได้กล่าวถึงด้านอื่นๆเลย...จึงอยากเพิ่มเติมว่า....การพัฒนาศักยภาพครูนั้น ควรจะพัฒนาในทุกๆด้าน....โดยเฉพาะการพัฒนาด้านดคุณธรรม และจริยธรรม....

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มันพึ่งจะเริ่มต้น


อืม...ก็สนุกไปอีกแบบกับการใช้งานBLOGGER.
ยังคงต้องเรียนรู้กับมันอีกมาก.แต่ก็ดี.ถือว่าได้เพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ใน
อีกแง่มุมหนึ่งที่ทันสมัย ไฮเทคมากขึ้น.สรุปว่าชอบนะ
555+